วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน




POLICIES   AND  PRACTICES   IN  BASIC  EDUCATION  TOWARD  ASEAN   COMMUNITY

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 
ภาควิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีการศึกษา 2556
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร


 
 Mrs.  Chaliaw  Yachan

 A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree
Doctor of Philosophy Program in Educational Administration
Department of Educational Administration
Graduate School, Silpakorn University
Academic Year 2013


Copyright of Graduate School, Silpakorn University
          บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศิลปากร  อนุมัติให้วิทยานิพนธ์เรื่อง นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน เสนอโดย  นางเฉลียว  ยาจันทร์  เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

 ……...ปานใจ  ธารทัศนวงศ์.....................
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ  ธารทัศนวงศ์)
             คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    วันที่  2     ธันวาคม  ..   2556


อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร
  2. รองศาสตราจารย์  ดร.ชุมศักดิ์   อินทร์รักษ์


คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์


..............ประเสริฐ  อินทร์รักษ์.............. ประธานกรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  อินทร์รักษ์)
  วันที่  2     ธันวาคม  ..   2556


..กมล    รอดคล้าย......กรรมการ
       (ดร.กมล    รอดคล้าย)
  วันที่  2     ธันวาคม  ..   2556           


...........ชุมศักดิ์   อินทร์รักษ์............กรรมการ ...........นพดล เจนอักษร.............กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมศักดิ์   อินทร์รักษ์)  (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร)
     วันที่  2     ธันวาคม  ..   2556.                       วันที่  2     ธันวาคม  ..   2556     


 
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
คำสำคัญ   : นโยบายและการปฏิบัติ/ ประชาคมอาเซียน
       นางเฉลียว ยาจันทร์:นโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน  
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผศ.ว่าที่ พ.ต. ดร.นพดล เจนอักษรและผศ.ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์.  458 หน้า.
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed  methodology )คือ มีทั้งวิจัยเชิง
ปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อทราบนโยบายด้านการศึกษาขั้น
พื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียน 2) เพื่อทราบองค์ประกอบของนโยบาย
และการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน 3) เพื่อทราบรูปแบบนโยบาย
และการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน จำนวน 31,022 โรงเรียน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (multi-stage sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 228 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3
คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน  จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มการบริหารงาน
วิชาการหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่แทน  จำนวน 1 คนและประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 
จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น  684  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (questionnaires) แบบสำรวจความคิดเห็น (opinionnaire) และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured  interview) เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 14  ธันวาคม  2555 – วันที่ 10 มีนาคม 2556  สถิติที่ใช้ในคือ  ค่าความถี่ (frequency)ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor  Analysis) สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Paths Analysis)
 ผลการวิจัยพบว่า
1. นโยบายด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียน
มีทั้งหมด 17 นโยบาย
2. องค์ประกอบนโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน    
ประกอบด้วย  6  องค์ประกอบ คือ 1) การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 2) การบริหารจัดการ 3) คุณภาพของผู้เรียน  4) เทคโนโลยีสารสนเทศ  5) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และ 6) การมีส่วนร่วม
        3. รูปแบบนโยบายและการปฏิบัติด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน                          เป็นพหุองค์ประกอบ ที่มีความสัมพันธ์กัน  มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์และมีความถูกต้องครอบคลุมสอดคล้องกับทฤษฎี หลักการและแนวคิดตามกรอบการวิจัย

           
ภาควิชาการบริหารการศึกษา         บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร                  ปีการศึกษา 2556

ลายมือชื่อนักศึกษา......เฉลียว ยาจันทร์                                          


  MAJOR : EDUCATIONAL ADMINISTRATION
KEY WORD : POLICIES   AND  PRACTICES   / ASEAN   COMMUNITY
              CHALIAW   YACHAN : POLICIES   AND  PRACTICES   IN  BASIC  EDUCATION  TOWARD  ASEAN   COMMUNITY. THESIS ADVISORS  :  ASST. PROF. MAJ. NOPADOL CHENAKSARA, RTAR., Ph.D., ASST. PROF. PRASERT INTARAK, Ed.D. 458 pp.   
      
          This research was used mixed – method approach (quantitative and qualitative research). The purposes of this research were 1.) to study the basic educational policy for development in ASEAN community of ASEAN member countries. 2) to study the component of the policy and practice of the basic education for development in ASEAN community.         3)  to study policy and practice for development the basic education in ASEAN community.
The populations of this research were 3 persons in each school; a school director,              an academic assistant of school director or an academic administration teacher and              a chairman of the basic educational committee that included 31,022 schools from primary and secondary schools in the Office of Basic Education Commission. The sample group consisted from 228 schools selected by multi-stage sampling. The total of sample group is 684 persons. The research instruments were questionnaires opinionnaire and unstructured  interview. Collected data between December 14, 2555 - March 10, 2556. The statistic used to analyze data were frequency percentage, mean score , standard deviation and exploratory  Factor  Analysis  by using Paths Analysis.
          The research findings of this research were as follows :
          1. The Policy of the basic education in ASEAN community of ASEAN member countries was all 17 policies. 
          2. The component of policy and practice to develop the basic education to ASEAN community  consisted  six  component : 1) policy implementation 2) management 3) the quality             of the students 4) information technology 5) the personnel potential development and       6) participation.
          3. The model of policies and practices for development of the basic education to ASEAN  is interrelated pluralist component which is appropriate, possible ,useful and accurate coverage in accordance with the conceptual frameworks and theories.

Department of  Educational Administration  Graduate School, Silpakorn University   Academic Year 2013 Student's signature ...............................................                         
Thesis Advisors' signature 1. ....................................................  2. ......................................................

กิตติกรรมประกาศ

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุงล่วงด้วยดีเพราะได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ พันตรี ดร.นพดล  เจนอักษร  รองศาสตราจารย์  ดร.ชุมศักดิ์   อินทร์รักษ์  ดร.กมล  รอดคล้าย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  อินทร์รักษ์และคณาจารย์ภาควิชาบริการการศึกษาทุกท่านที่กรุณาให้ปรึกษา  คำแนะนำ  สนับสนุน  ช่วยเหลือ  ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จนสำเร็จสมบูรณ์  ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
          ขอกราบขอบพระคุณ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี  นิลกรณ์  ที่ให้ความช่วยเหลือใน              การวิเคราะห์ข้อมูลและคำแนะนำสำหรับการศึกษาวิจัย  ขอกราบขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน  ผู้อำนวยการโรงเรียน  รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่กลุ่ม                          การบริหารงานวิชาการและประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 228 โรงเรียนทั่วประเทศที่ให้ความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างดียิ่งสำหรับการวิจัยในครั้งนี้
          ขอขอบพระคุณ  ดร.ขัตติยา  ด้วงสำราญและเพื่อนร่วมรุ่นดุษฎีบัณฑิตรุ่น 8 ทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือเป็นกำลังใจสำคัญให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  สุดท้ายนี้ผู้วิจัยสำเร็จการศึกษาได้ด้วยกำลังใจ  การช่วยเหลือและการดูแลอย่างดียิ่งจาก  นายมนตรี  ยาจันทร์และขอมอบความสำเร็จครั้งนี้บูชาพระคุณของคุณพ่อ  คุณแม่  นายมนตรี  ยาจันทร์และครู-อาจารย์ทุกๆ ท่านที่ได้อบรมสั่งสอนมาจนทำให้ผู้วิจัยประสบความสำเร็จได้ด้วยดีในครั้งนี้